ReadyPlanet.com
dot
การเลือกใช้ครีมกันแดด

การเลือกใช้ครีมกันแดด

 

ครีมกันแดด หรือ โลชั่นกันแดด อันไหนดีกว่ากัน

การป้องกันอันตรายจากแสงแดดที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด ในช่วงเวลา 9.00-15.00 น., สวมเสื้อผ้าปกคลุมครีมกันแดด มิดชิด, แว่นกันแดด, หมวกปีกกว้าง, หรือกางร่มเสมอ แต่ในกรณีที่ทำงาน หรือ เล่นกีฬากลางแจ้ง ไม่สามารถหลีกเลี่ยงแสงแดดได้แล้วล่ะก็ ครีมกันแดด จะเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการปกป้องผิวจากอันตรายของแสงแดดได้ค่ะ

ก่อนอื่น เรามารู้จักประเภทของ ครีมกันแดด กันก่อนะคะครีมกันแดด มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้

1. Chemical   Sunscreen เป็น ครีมกันแดด ที่มีส่วนผสมของสารเคมี ทำหน้าที่ปกป้องแสงแดด โดยการดูดซับรังสีแสงแดดเข้าไว้ในผิว ซึ่งหลังจากโดนแดดสักพัก สารเคมีเหล่านี้ก็เสื่อมสภาพ นั่นคือสาเหตุที่เราจึงต้องทา ครีมกันแดด ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง การเลือกใช้ ครีมกันแดด ที่มีค่า SPF สูงๆ ซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมีปริมาณมาก อาจเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังโดยเฉพาะคนที่มีผิวแพ้ง่าย 
 
2. Physical Sunscreen เป็น ครีมกันแดด ที่มีส่วนผสมของสาร ที่สามารถสะท้อนรังสี UVA และ UVB ออกไปจากผิวหนัง ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะมีผลระคายเคืองต่อผิวหนัง น้อยกว่าสารในกลุ่มแรก แต่มีข้อด้อยคือครีมกันแดด ประเภทนี้ไม่สามารถให้ SPF ที่สูงๆ ได้ และเมื่อทาบนผิวหนังแล้ว หน้าจะดูขาวมาก เนื่องจากสารจะเคลือบบนผิวหนังชั้นบน เพื่อรอแสงกระทบ จึงมีการดูดซึมสู่ผิวน้อย
 
3. แบบผสม Chemical-Physical Sunscreen เป็นการเสริมข้อดี ลดข้อด้อยในแต่ละส่วน นั่นคือ ลดการระคายเคืองต่อผิวหนัง จากสารประเภทสารเคมี และ ลดความขาวเมื่อทาครีม และ เสริมประสิทธิภาพ ในการป้องกันแสงแดดร่วมกัน
 
วิธีเลือกซื้อครีมกันแดด
1. มีคุณสมบัติครบในการป้องกันทั้งรังสี UVB และ UVA ไม่มีปฏิกิริยาต่อผิวหนัง เช่น คัน ผื่น
2.   ดูที่ค่า SPF (Sun Protective Factor) ซึ่งเป็นตัวบอกว่า ป้องกัน UVB ได้กี่เท่าส่วน UVA ยังไม่มีค่ามาตรฐาน ปัจจุบันนิยมใช้ PA และเครื่องหมาย + ปกติคนไทยมีผิวคล้ำซึ่งเม็ดสีสามารถป้องกัน UVB ได้บ้างแล้ว ดังนั้น SPF มากกว่า 15 และ PA++ ขึ้นไป ก็เพียงพอ
3.  เลือก ครีมกันแดด ที่มีสารเคมีที่กัน UVA ได้ดีอย่างน้อย 2 ชนิด เช่น Oxybenzone + TiO2 หรือ Parsol 1789 + ZnO เป็นต้น
4.  ดูที่กิจกรรม ถ้าออกกำลังกลางแจ้ง มีเหงื่อ ว่ายน้ำ ทำงานกลางแดด ต้องใช้ SPF ที่สูงขึ้นและเลือกประเภทที่กันน้ำได้ (Water Proof หรือ Water Resistance)

ครีมกันแดดการทาครีมกันแดด  ควรทา ครีมกันแดด ให้หนาเพียงพอ ก่อนอยู่กลางแดด อย่างน้อย 15 นาที และ จำนวนครั้งที่ทาต่อวัน ก็สำคัญนะคะ ถ้าอยู่ในออฟฟิศ ห้องแอร์ วันละครั้งก็เพียงพอค่ะ แต่ถ้าต้องทำงานกลางแดด โดนลม อาจจะทาเติม ถ้าว่ายน้ำต้องทาทุก 2-3 ชั่วโมง เนื่องจากการทา ยากันแดด2-3 เท่าเลยค่ะ ซ้ำ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการกันแดดได้อีก อย่างไรก็ตาม นอกจากการทา ครีมกันแดด แล้วก็ต้องเลี่ยงแดดด้วยนะคะ อาจจะใส่แว่น ใส่หมวก กางร่ม เนื่องจาก ครีมกันแดด ไม่ว่าจะมีค่า SPF สูงเพียงใด ก็ไม่ได้กันแดดได้ 100 % ค่ะ

วิธีทดสอบการแพ้ครีมกันแดด  ให้ทา ครีมกันแดด บริเวณใต้ท้องแขนทิ้งไว้ 15 นาที แล้วสังเกตว่ามีอาการบวม แดงหรือไม่ ถ้าปรากฏอาการ ดังกล่าวแสดงว่าแพ้สารเคมีชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตามบางคน อาจจะใช้เวลานานกว่าจะปรากฏอาการแพ้ (delay sensitivity) ดังนั้นจึงควรรอดูอาการถึง 24 ชั่วโมง หรือ 72 ชั่วโมง จึงจะสรุปได้ว่าไม่มีอาการแพ้จริงๆ ค่ะ 

หวังว่าจะเลือก ครีมกันแดด ใช้ได้ถูกใจ และ ปกป้องผิวสวยๆของเรากันได้แล้วนะคะ 

ผลิตภัณฑ์ ครีมกันแดด SPF 100 PA +++ ที่บริษัทแนะนำ 




บทความเกี่ยวกับเครื่องสำอาง

แนะนำ ชะเอมเทศ สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
ฝ้า และ กระ ต่างกันอย่างไร ควรใช้เครื่องสำอางแบบใด? article
ประเภทของผิวเรา เป็นแบบไหนกันนะ? article
7 วิธี ให้หน้าใส "ไร้สิว" article
แนะนำ PEARL EXTEACT สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
หลักเกณฑ์การตั้งชื่อ "ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง" article
OEM กับ ODM ต่างกันอย่างไร? article
อายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง article
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง article
สิวกับเครื่องสำอาง article
การควบคุมขั้นตอนการผลิตเครื่องสำอาง article
แนะนำ SNAIL EXTRACT สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
การเลือกซื้อเครื่องสำอางอย่างปลอดภัย article
ปัญหาผิวแพ้ง่าย กับการผลิตเครื่องสำอาง article
ดูแลผิวช่วงหน้าฝนยังไง ให้ผิวสุขภาพดี article
ปัญหาผิวแพ้ง่ายกับเครื่องสำอาง article
อันตรายจากการใช้เครื่องสำอางปลอม article
อันตรายของสารปรอทในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง article
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิต หรือนําเข้าเครื่องสําอาง article
โรงงานรับผลิตเครื่องสำอาง กับ GMP article
ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด แตกต่างกันอย่างไร? article
แนะนำเซรั่มสูตรหน้าใส article
สัญลักษณ์บนเครื่องสำอางที่ควรรู้ในการผลิตเครื่องสำอาง article
สารที่ "ห้าม" ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง article
สารอนุมูลอิสระกับการผลิตเครื่องสำอาง article
สาเหตุของการเกิดรอยเหี่ยวย่น article
แนะนำ Kakaduplum สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
แนะนำ GOAT MILK EXTRACT สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
ข้อมูลฉลากบนเครื่องสำอางที่ควรรู้ในการผลิตเครื่องสำอาง article
แนะนำ สาหร่ายทะเล สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
แนะนำ SEA WATER สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
เหตุผลที่ต้องผลิตเครื่องสำอางกับเรา article
ประกาศใช้ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๕๘ article
เลือกครีมบำรุงผิวช่วงหน้าร้อนอย่างไรให้เหมาะกับผิว ??
เลือกครีมหน้าขาวอย่างไรให้ถูกวิธี
8 เคล็ดลับการบำรุงผิวในแต่ละวัน
แนะนำ Witch Hazel Distillate สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
การเลือกซื้อเครื่องสำอางอย่างชาญฉลาด
แนวโน้มการตลาดเครื่องสำอางธรรมชาติ
ลำดับการใช้เครื่องสำอาง
แนะนำ Bakuchiol สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
แนะนำ แพลงก์ตอนทะเล สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
ครบเครื่องเรื่อง ครีมกันแดด
ทำไมต้องโทนเนอร์
การเลือกผลิตภัณฑ์ล้างหน้า
การเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
วิตามิน ในเครื่องสำอาง
แนะนำ สารสกัดหัวหอมแดง สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
การแพ้เครื่องสำอาง
แนะนำ AREAUMAT PERPETUA PWS สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
แนะนำ MANGOSTEEN EXTRACT สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
เวชสำอาง คืออะไร
ทำไมต้องใช้เครื่องสำอาง ??



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัทสกินไบโอเทค (ประเทศไทย) จำกัด รับผลิตเครื่องสำอาง สร้างแบรนด์เครื่องสำอาง โดยที่คุณสามารถเป็นเจ้าของแบรนด์เครื่องสำอางคุณภาพได้เพียงติดต่อเรา เราเป็นผู้ผลิตเครื่องสำอางที่พร้อมผลิตเครื่องสำอางภายใต้แบรนด์ของลูกค้า ยินดีให้คำปรึกษาด้วยทีมงานมืออาชีพ ทั้งเภสัชกรและนักวิทยาศาสตร์ค้นคว้าและวิจัยเครื่องสำอางที่มากด้วยความสามารถและประสบการณ์ที่มากกว่า 10 ปี ต้องการทราบข้อมูล สอบถาม Price List จำนวนต้นทุนขั้นต่ำในการผลิตเครื่องสำอาง เงื่อนไขการผลิตเครื่องสำอาง ราคาสินค้า ตัวอย่างทดลอง และการขอขึ้นทะเบียน อย.

Skin Biotech (Thailand) Co.,Ltd. 17 soi.krungthepkreetha 37 yak 8 krungthep kreetha road, Sapansung, Bangkok 10250 Thailand.
Tel.0-2736-2204-5 Email : skinbiotech@hotmail.com