อาการแพ้ เครื่องสำอาง
จะรู้ได้อย่างไรว่า แพ้เครื่องสำอาง
ในปัจจุบัน วิวัฒนาการทางความงามมีมากขึ้นเรื่อยๆ เครื่องสำอาง จึงเป็นสิ่งที่สาวๆให้ความสนใจกันมาก แต่บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ เครื่องสำอาง ทำให้เสียความงาม หรืออาจเป็นอันตรายขั้นรุนแรงได้
เราจึงควรทำความรู้จักกับ เครื่องสำอาง ให้มากขึ้น ทั้งชนิดของ เครื่องสำอาง คุณสมบัติ และ ส่วนประกอบของเครื่องสำอาง ที่เราใช้ รวมทั้งการแพ้เครื่องสำอางด้วยนะค่ะ
อาการแพ้เครื่องสำอาง
หลังจากใช้ เครื่องสำอาง ไปแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแพ้เครื่องสำอาง ก็ให้เราสังเกตอาการดังต่อไปนี้ค่ะ
1.อาการที่ผู้ใช้ เครื่องสำอาง จะรู้สึกด้วยตัวเอง
เช่น อาการปวดแสบปวดร้อน อาการคัน หรือรู้สึกว่าคันยิบๆ อาการเหล่านี้จะเกิดเป็นช่วงสั้นๆ ไม่เกิน 10 นาที อาการที่พบบ่อยที่สุดมักเกิดจากการใช้ เครื่องสำอาง ที่ใบหน้าแต่ผู้ที่แพ้มักไม่ไปพบแพทย์ เพราะเมื่อหยุดใช้ อาการก็จะหายไป
2. อาการแพ้ผื่นคัน
อาจมีอาการตั้งแต่แพ้น้อยๆแค่มีผื่นแดงคัน จนกระทั่งแพ้มากเป็นตุ่มแดง ตุ่มน้ำ มีขุย บริเวณของร่างกายที่จะแพ้ได้บ่อยที่สุดคือ บริเวณหน้าโดยเฉพาะรอบดวงตา เนื่องจากเป็นบริเวณที่ผิวบางที่สุด
3. เกิดผื่นลมพิษ
จะมีอาการผื่นแดง บวม ถ้าเป็นน้อยๆ อาจเห็นแค่หนังตาบวม ถ้าเป็นมากอาจพบผื่นบวมทั้งหน้า บางครั้งถ้าแพ้มาก อาจมีอาการทางด้านระบบอื่นของร่างกาย อาทิ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เช่น การแพ้ยาย้อมผม
4. เกิดผื่นดำ
บางครั้งยิ่งทา เครื่องสำอาง แล้วหน้ายิ่งดำ ทั้งนี้เนื่องจากในผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมของน้ำหอม ซึ่งมีสารเคมีที่เมื่อโดนแสงแล้วจะเกิดการแพ้แสงแดดเห็นเป็นรอยดำบริเวณที่สัมผัส หรือ บางครั้งผลิตภัณฑ์ที่มีสารธรรมชาติ เช่น มะกรูด มะนาว แตงกวา หรือ การใช้สมุนไพรมาทาหน้า ก็จะทำให้หน้าดำ เพราะมีสารที่ทำปฏิกิริยากับแสงแล้วทำให้เกิดผื่นดำได้ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่รักษาฝ้าที่มีสารไฮโดรควิโนนในความเข้มข้นสูง จะทำให้เกิดปื้นดำบนใบหน้าอย่างถาวร แม้จะหยุดใช้แล้วก็ยังไม่หายดำ สารดังกล่าวนี้ จึงต้องใช้ในการควบคุมดูแลของแพทย์
5. เกิดผื่นขาว
ในสมัยก่อนมีครีมที่นิยมทาให้ใบหน้าขาว ซึ้งทาแล้วก็ทำให้ขาวได้จริงๆ แต่ขาวแบบไม่สม่ำเสมอ กระดำกระด่าง ทั้งนี้เนื่องจากมีสารจำพวกปรอทโมโนอีเทอร์ ไฮโดรควิโนนที่มีความเข้มข้นสูง บางครั้งรอยด่างขาวนี้ก็เป็นแบบถาวร เมื่อหยุดใช้แล้วเม็ดสีก็ไม่กลับคืน ดังนั้นทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงห้ามใช้สารเหล่านี้ใน เครื่องสำอาง แล้ว
6. สิว
เครื่องสำอาง ที่มีส่วนประกอบของสารที่ทำให้เกิดสิว เช่น ลาโนลิน โซเดียมลอรัลซัลเฟต สารสเตียรอยด์ เป็นต้น เมื่อใช้ไปนานๆ อาจก่อให้เกิดสิวได้ ดังนั้นถ้าคนที่มีอายุเลยวัยที่จะเป็นสิวแล้วเกิดเป็นสิวขึ้นมา ให้สงสัยไว้ก่อนว่าจะเกิดจาก เครื่องสำอาง
7. การเปลี่ยนแปลงของเล็บ
เช่น เล็บลอก เล็บผุกร่อน เปลี่ยนสี ขอบเล็บอักเสบ อาจเกิดจากการใช้ เครื่องสำอาง ของเล็บ เช่น ยาทาเล็บ น้ำยาล้างเล็บ และบางครั้งก็เกิดจากร้านเสริมสวยที่รักษาความสะอาดไม่เพียงพอ
8. การเปลี่ยนแปลงของผม
น้ำยาดัดผม น้ำยายืดผม จะทำให้เส้นผมเปราะหักง่าย น้ำยาย้อมผม น้ำยาทำสีผม อาจทำให้เส้นผมกระด้าง ขาดความเงางาม
9. ผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย
เช่น เยื่อบุตาอักเสบ การสะสมของสารพิษในระยะยาว ซึ่งถ้าเป็น เครื่องสำอาง ที่ได้มาตรฐานผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มักจะไม่มีอันตรายเหล่านี้ แต่บางครั้งด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ผลิตอาจจะใส่สารที่เป็นอันตราย เช่น ปรอท ตะกั่ว อันก่อให้เกิดพิษได้
ทำอย่างไรเมื่อสงสัยว่าจะแพ้เครื่องสำอาง
1. ถ้าสงสัยจะ แพ้เครื่องสำอาง ชนิดไหน ให้หยุดใช้ เครื่องสำอาง ชนิดนั้นทันที ถ้ามีหลายตัวให้หยุดใช้ตัวที่นำมาใช้ใหม่แล้วเกิดอาการก่อน ถ้าหยุดใช้แล้วอาการดีขึ้นก็อาจแสดงว่า เครื่องสำอางตัวนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้แพ้ แต่ถ้ามีอาการแพ้มาก มีผิวหน้าอักเสบอยู่ ให้หยุดใช้ เครื่องสำอาง ทุกชนิด อนุญาตให้ใช้แป้งเด็ก ลิปสติก (ถ้าไม่มีผื่นที่ปาก) เครื่องสำอาง แต่งดวงตา (ถ้าไม่มีผื่นรอบดวงตา)
เมื่ออาการผิวหนังอักเสบหายแล้วค่อยลองใช้ที่ละตัวเป็นอย่างๆไป ถ้าเกิดผื่นขึ้นให้ลองหยุดใช้ตัวที่ใช้สุดท้าย ถ้าอาการหายไปก็น่าจะเกิดการ แพ้เครื่องสำอาง นั้นๆ
2. วิธีที่จะพิสูจน์ง่ายๆว่า เครื่องสำอาง ชนิดนั้นเป็นสาเหตุที่เกิดการแพ้จริงหรือไม่ ให้ทำการทดสอบโดยทา เครื่องสำอาง ที่สงสัยที่บริเวณท้องแขน วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ถ้ามีผื่นขึ้นก็แสดงว่าแพ้จริง ให้หยุดใช้เครื่องสำอาง นั้นๆ
3. ถ้าทดสอบเองแล้วยังหาสาเหตุไม่ได้ แพทย์ผิวหนังจะมีการทดสอบทางผิวหนังโดย วิธีแพตช์เทสต์ (PATCH TEST) โดยจะใช้สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของ เครื่องสำอาง ในความเข้มข้นที่เหมาะสม มาแปะติดลงบนแผ่นหลังของผู้ป่วย ทิ้งไว้ 2 วัน แล้วกลับมาอ่านผล
ถ้ามีอาการผื่นแดงขึ้นบริเวณที่ทดสอบ ก็แสดงว่าแพ้สารนั้นวิธีนี้มีประโยชน์ในการที่จะเลือกซื้อเครื่องสำอาง ครั้งต่อไปจะได้เลือก เครื่องสำอาง ที่ไม่มีสารที่แพ้ผสมอยู่ เช่น ถ้าทดสอบแล้วพบว่าแพ้น้ำหอม เมื่อจะซื้อ เครื่องสำอาง ก็ควรเลือกชนิดที่ไม่มีน้ำหอม หรือมีน้ำหอมน้อย ซึ่งอาจจะเขียนว่า NO PERFUME หรือ FRAGRANCE FREE ก็ได้
4. ถ้าเกิดอาการแพ้มากๆ ควรจะพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง อย่าฝืนใช้ เครื่องสำอางหรือซื้อยาทาเองเนื่องจากอาจเกิดอันตรายมากขึ้น
ข้อแนะนำในการใช้ เครื่องสำอาง
1. ปิดฝา เครื่องสำอาง ทุกครั้งเมื่อใช้เสร็จ
2. รักษาความสะอาดของขวด กระปุก
3. เก็บ เครื่องสำอาง ไว้ในที่อาการไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป อากาศถ่ายเทได้สะดวก
4. แปรงหรือฟองน้ำต้องทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่
5. สำลีหรือพัฟควรจะเลือกแบบใช้แล้วทิ้งเพียงครั้งเดียว
6. ให้ล้าง เครื่องสำอาง ออกให้หมดก่อนนอน
7. มั่นตรวจอายุของ เครื่องสำอาง หากหมดอายุก็ทิ้ง อย่าเสียดาย