ReadyPlanet.com
dot
ประเภทของเครื่องสำอาง

ประเภทของเครื่องสำอาง

จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงและประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแล้ว ได้จัดแบ่งเครื่องสำอางออกเป็น 3 ประเภท คือ 

 

1.เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอันตรายกับผู้บริโภค เนื่องจากพิษภัยหรือจากเคมีภัณฑ์ ที่เป็นส่วนผสม การกำกับดูแลจึงเข้มงวดที่สุด ด้วยการให้มาขึ้นทะเบียนตำรับ เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับเครื่องสำอางควบคุมพิเศษเรียบร้อยแล้ว จึงจะผลิตหรือนำเข้ามาจำหน่ายได้ ให้สังเกต เลขทะเบียนในกรอบ อย. วอย่างเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ได้แก่

  •  ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ไหมขัดฟันที่มีส่วนผสมของ ฟลูออไรด์
  •  น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของ เซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์
  •  ผลิตภัณฑ์ดัดผม ยืดผม
  •  ผลิตภัณฑ์ย้อมผมชนิดถาวร
  •  ผลิตภัณฑ์ฟอกสีผม
  •  ผลิตภัณฑ์แต่งสีผมที่มีส่วนผสมของ เลดแอซีเทต หรือซิลเวอร์ไนเตรต
  •  ผลิตภัณฑ์กำจัดขน หรือทำให้ขนร่วง

2. เครื่องสำอางควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่มีผลกระทบ หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายบ้าง การกำกับดูแลจึงไม่เข้มงวดเท่าเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ผู้ประกอบธุรกิจเพียงมาแจ้งรายละเอียดต่อหน่วยงานของรัฐ ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนผลิตหรือนำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักร ดังนั้นเครื่องสำอางควบคุม จะไม่มีเลขทะเบียนในกรอบ อย.

กำหนดเครื่องสำอางควบคุม มี 2 ลักษณะ คือ

  • 2.1 กำหนดประเภทของเครื่องสำอาง 4 ประเภท เป็นเครื่องสำอางควบคุม ได้แก่

 ผ้าอนามัย ทั้งชนิดแผ่น และชนิดสอด

 ผ้าเย็นหรือกระดาษในภาชนะบรรจุที่ปิด

 แป้งฝุ่นโรยตัว

 แป้งน้ำ

  • 2.2 กำหนดสารควบคุม ดังนั้นเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารควบคุม จะจัดเป็นเครื่องสำอางควบคุม ได้แก่

 สารป้องกันแสงแดด จำนวน 19 ชนิด (ตามบัญชีแนบท้ายประกาศฯ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2536 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ที่มีสารป้องกันแสงแดด)

 สารขจัดรังแค (ซิงก์ไพริไทโอน และ ไพรอกโทน โอลามีน)

 สารขจัดรังแค (คลิมบาโซล)

 

3.เครื่องสำอางทั่วไป ได้แก่เครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษ หรือสารควบคุม ดังนั้นเครื่องสำอางทั่วไปจะไม่มีเลขทะเบียนในกรอบ อย. แต่มีข้อกำหนดในการผลิตหรือนำเข้า ดังนี้

  • 3.1 เครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศ สามารถผลิตได้โดยไม่ต้องมาแจ้งกับอย. เพียงแต่จัดทำฉลากภาษาไทย ให้มีข้อความอันจำเป็น ครบถ้วน ชัดเจน (ส่วนข้อความอื่นๆบนฉลากต้องเป็นความจริงและมีเอกสารหลักฐานพร้อมที่จะพิสูจน์ได้)
  • 3.2 เครื่องสำอางที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ต้องส่งมอบหลักฐานประกอบการ นำเข้า และจัดทำฉลากภาษาไทยให้มีข้อความอันจำเป็นให้ ครบถ้วนภายใน 30 วัน หลังจากได้รับการตรวจปล่อยให้นำเข้าฯ (ส่วนข้อความอื่นๆบนฉลากต้องเป็นความจริงและมีเอกสารหลักฐานพร้อมที่จะพิสูจน์ได้)  ตัวอย่างเครื่องสำอางทั่วไป ได้แก่ แชมพูสระผมที่ไม่มีสารขจัดรังแค ครีมนวดผม โลชั่น ครีมบำรุงผิว อายแชโดว์ อายไลเนอร์ ดินสอเขียนคิ้ว บลัชออนแต่งแก้ม ลิปสติก ครีมรองพื้น แป้งทาหน้า สบู่ก้อน สบู่เหลว โฟม น้ำมันทาผิว เครื่องสำอางระงับกลิ่นกาย สีทาเล็บ มูส หรือเยลแต่งผม เป็นต้น

 

 

เครื่องสำอางสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท แต่โดยทั่วไปมักจะแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ

 

1.เครื่องสำอางที่ไม่ได้ใช้แต่งสีของผิว

เครื่องสำอางประเภทนี้ ใช้สำหรับการทำความสะอาดผิวหนัง หรือใช้เพื่อป้องกันผิว หนังไม่ให้เกิดอันตรายจาสิ่งแวดล้อม เครื่องสำอางประเภทนี้ได้แก่ สบู่ แชมพู ครีมล้างหน้า ครีมกันผิวแตก น้ำยาช่วยกระชับผิวให้ตึง เป็นต้น

2.เครื่องสำอางที่ใช้แต่งสีผิว

เครื่องสำอางประเภทนี้ ใช้สำหรับการแต่งสีของผิวให้มีสีสดสวยขึ้นจากผิวธรรม ชาติที่เป็นอยู่ เช่น แป้งแต่งผิวหน้า ลิปสติก รู้ช เป็นต้น ถ้าแบ่งเครื่องสำอางตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ มอก. 152-2518 จะสามารถแบ่งเครื่องสำอางได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้คือ

3.เครื่องสำอางสำหรับผม (Hair cosmetics) 

-แชมพู (shampoos) 

-น้ำยาโกรกผม (hair rinses) 

-น้ำยาจับลอนผม (wave sets) 

-น้ำยาดัดผม (hair permanent waving) 

-สิ่งปรุงเพื่อใช้กำจัดรังแค (antidandruff) 

-สิ่งปรุงแต่งสีของเส้นผมและขน (hair colouring) 

-สิ่งปรุงปรับสภาพเส้นผม (hair conditioners) 

-สิ่งปรุงแต่งทรงผม (hair dressing or hair grooming)

4.เครื่องสำอางแอโรซอล (aerosol cosmetics)

 

5.เครื่องสำอางสำหรับใบหน้า (face cosmetics) 

-ครีมและโลชั่นล้างหน้า (cleansing cream and lotions) 

-สิ่งปรุงสมานผิวและสิ่งปรุงทำให้ผิวสดชื่น (astringent preparations and skin fresheners) 

-สิ่งปรุงรองพื้น (foundation preparations) 

-สิ่งปรุงผัดหน้า (face powders) 

-สิ่งปรุงแต่งตา (eye make-up preparations) 

-รู้ช (rouges) 

-ลิปสติก (lipsticks) 

-อิโมลเลียนต์ (emollients)

 

6.เครื่องสำอางสำหรับลำตัว (body cosmetics) 

-ครีมและโลชั่นทาผิว (emollient creams and lotions) 

-ครีมและโลชั่นทามือและทาตัว (hand, body creams and lotions) 

-สิ่งปรุงป้องกันแดดและแต่งให้ผิวคล้ำ (sun tan preparations) 

-น้ำยาทาและล้างเล็บ (nail lacquers and removers) 

-สิ่งปรุงระงับเหงื่อและกลิ่นตัว (antiperspirants and deodorants)

 

7.เครื่องหอม (fragrances) 

-น้ำหอม (alcoholic fragrances) 

-ครีมหอมและเครื่องหอมชนิดแข็ง (emulsified and solid fragrances)

 

8.เบ็ดเตล็ด (miscellaneous cosmetics) 

-สิ่งปรุงสำหรับการโกน (shaving preparations) 

-สบู่สำหรับการโกน (shaving soaps) 

-ครีมสำหรับการโกน (shaving creams) 

-สิ่งปรุงสำหรับใช้ก่อนการโกน (pre-shave preparations) 

-สิ่งปรุงสำหรับใช้หลังการโกน (after-shave preparations) 

-สิ่งปรุงที่ทำให้สีผิวจางและฟอกสีผิว (skin lighteners and bleaching preparations) 

-สิ่งปรุงผสมน้ำอาบ (bath preparations) 

-ฝุ่นโรยตัว (dusting powders) 

-สิ่งปรุงทำให้ขนร่วง (depilatories)

 

เครื่องสำอางที่พบในท้องตลาดอาจจะแบ่งออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้

เครื่องสำอางสำหรับผิวหนัง ได้แก่ 

-ครีมทาผิว 

-ผลิตภัณฑ์ขจัดสิว 

-ผลิตภัณฑ์ขจัดสีผิวและขจัดฝ้า 

-ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อและขจัดกลิ่นตัว 

-ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด 

-ผลิตภัณฑ์ป้องกันแมลงกัดต่อย

เครื่องสำอางสำหรับผมและขน ได้แก่ 

-แชมพูและครีมนวดผม 

-ผลิตภัณฑ์ตกแต่งผม 

-ผลิตภัณฑ์สำหรับโกนหนวดและกำจัดขน

เครื่องสำอางสำหรับแต่งตาและคิ้ว

เครื่องสำอางสำหรับแต่งใบหน้า 

-ผลิตภัณฑ์พอกและลอกหน้า 

-ผลิตภัณฑ์กลบเกลื่อน 

-ผลิตภัณฑ์รองพื้นแต่งหน้า 

-แป้งผัดหน้าและแป้งโรยตัว

เครื่องสำอางสำหรับแต่งแก้ม

เครื่องสำอางสำหรับแต่งปาก

เครื่องสำอางสำหรับทำความสะอาดผิวปาก และฟัน 

-ครีมล้างหน้าและครีมล้างมือ 

-ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก

เครื่องสำอางสำหรับเล็บ

เครื่องสำอางสำหรับเด็ก

ผลิตภัณฑ์น้ำหอม




เครื่องสำอาง คืออะไร

ความหมายของเครื่องสำอาง



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัทสกินไบโอเทค (ประเทศไทย) จำกัด รับผลิตเครื่องสำอาง สร้างแบรนด์เครื่องสำอาง โดยที่คุณสามารถเป็นเจ้าของแบรนด์เครื่องสำอางคุณภาพได้เพียงติดต่อเรา เราเป็นผู้ผลิตเครื่องสำอางที่พร้อมผลิตเครื่องสำอางภายใต้แบรนด์ของลูกค้า ยินดีให้คำปรึกษาด้วยทีมงานมืออาชีพ ทั้งเภสัชกรและนักวิทยาศาสตร์ค้นคว้าและวิจัยเครื่องสำอางที่มากด้วยความสามารถและประสบการณ์ที่มากกว่า 10 ปี ต้องการทราบข้อมูล สอบถาม Price List จำนวนต้นทุนขั้นต่ำในการผลิตเครื่องสำอาง เงื่อนไขการผลิตเครื่องสำอาง ราคาสินค้า ตัวอย่างทดลอง และการขอขึ้นทะเบียน อย.

Skin Biotech (Thailand) Co.,Ltd. 17 soi.krungthepkreetha 37 yak 8 krungthep kreetha road, Sapansung, Bangkok 10250 Thailand.
Tel.0-2736-2204-5 Email : skinbiotech@hotmail.com