ReadyPlanet.com
dot
โครงสร้างของผิวหนัง

           ผิวหนังคนเรานั้นมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ glabrous และ hairy ส่วนที่เป็น glabrous จะพบตามอุ้งมืออุ้งเท้าไม่มีขนและต่อมไขมันแต่มี encapsulated sense organ ในชั้นหนังแท้ ส่วนที่เป็น hairy นั้นโดยทั่วไปแล้วมีต่อมไขมันและขน แต่ไม่มี encapsulated send organ

โครงสร้างและหน้าที่ของผิวหนัง แบ่งได้เป็น 3 ชั้น

1.     หนังกำพร้า (epidermis or cuticle or scarf skin)

2.     หนังแท้ (dermis or corium or cutis vera)

3.     ชั้นรองรับผิวหนัง (subcutaneous tissue or hypodermis)

 

หนังกำพร้า (Epidermis)

          เป็นผิวหนังชั้นนอกสุด แบ่งเป็น 4-5 ชั้นย่อย ซึ่งในแต่ละชั้นมีลักษณะโครงสร้างและหน้าที่ต่างกันดังนี้

          1.     Stratum corneum or horny layer เป็นเซลล์แบนๆ ไม่มีสี เรียงเป็นแถวขนานกับผิวแบบหลังคาบ้าน ไม่มีนิวเคลียส เป็นเซลล์ที่ตายแล้ว ไม่มีกระบวนการเมตาโบลิซึมเกินขึ้น ดูดอาหารไม่ได้ มีประมาณความชื้นต่ำ เรียก corneal cell หรือ corneocytes ส่วนประกอบใหญ่ คือ คีราติน (keratin) ซึ่งประกอบด้วย insoluble cysteine-rich disulfide crosslinked protein 65% เป็นโปรตีนที่แปรสภาพมาจากเซลล์ชั้นอื่นที่อยู่ใต้ลงไป ไม่ละลายน้ำ ทนต่อสารเคมี จึงทำหน้าที่สำคัญในการป้องกันผิวหนังจากสารพิษ เซลล์เหล่านี้ถูกเชื่อมให้ต่อกันได้ด้วย waxlike substances คล้ายกาวเรียกว่า skin fat ซึ่งได้จากการสลายตัวของเซลล์ในกระบวนการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิว (keratinization)  ของเซลล์ชั้นล่างๆ skin fat นี้ ประกอบด้วยกรดไขมัน, ceramides, กรดอะมิโน, purine และน้ำตาล pentose ซึ่ง skin fat นี้สามารถดูดความชื้นจากเหงื่อรวมตัวเป็นอีมัลลชั่นปกคลุมผิวหนัง ทำให้ผิวมีความยืดหยุ่นและนุ่มนวล เป็นการรักษาความชื้นให้ผิว

          โดยปกติแล้ว corneal cell หรือ corneocyte จะหลุดออกเป็นขึ้ไคลเมื่อถึงเวลาอันควร วงจรปกติคือ ประมาณ 20-25 วัน แต่พบว่าในแต่ละแห่งของร่างกายวงจรการหลุดลอกของขึ้ไคลจะไม่เท่ากัน เช่น ข้อพับใต้ท้องแขน 100 วัน หัวเข่า 20 วัน ข้อศอก 10 วัน เป็นต้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโอกาสถูกเสียดสีถูไถด้วย

          2.     Statum Licidum or transparent layer ประกอบไปด้วย หยดน้ำมันที่เรียกว่า eleidin ชั้นนี้จะพบมากที่อุ้งมือ อุ้งเท้า และหนังที่หนาด้าน

          ระหว่างชั้น stratum lucidum และ stratum granulosum ซึ่งอยู่ถัดลงไป มีเยื่อคีราตินบางๆ เรียก Rein' barrier เยื่อนี้จะเป็นตัวแบ่งกั้นพีเอชของผิวหนัง โดยที่เหนือเยื่อนี้ขึ้นไปมีพีเอช 5 ใต้ลงมามีพีเอชมากขึ้น เยื่อนี้จะเป็นตัวกั้นการซึมผ่านเข้าออกของน้ำและอีเลคโตรไลท์

          3.     Stratum granulosum or granulosum or granular layer ภายใน cytophasm ของเซลล์ชั้นนี้มี granule ที่เรียกว่า keratohyalin ทำหน้าที่ช่วยสะท้อนแสงทำให้ผิวดูขาวผุดผ่องและทึบแสง เซลล์ชั้นนี้อาจเรียงตั้งแต่ 1-4 แถว แล้วแต่บริเวณของร่างกาย  เซลล์ชั้นนี้ค่อยๆ กลายสภาพเป็น extracellular compartment ซึ่งอยู่ระหว่างเซลล์ของ stratum corneum ภายในจะประกอบด้วย sterol, lipids และเอนไซม์  ได้แก่ lipases, glycosidases และ acid phosphatase สามารถเปลี่ยนสภาพจากไขมันชนิดมีขั้ว (glycoceramides) ไปเป็นไขมันชนิดไม่มีขั้ว (ceramides) ซึ่งตกผลึกเป็นชั้น (lipid lamella หรือ lipid bilayer ) อยู่ระหว่าง corneocytes ทำให้เกิดขั้นซึ่งกั้นน้ำ เรียกว่า skin fat

          4.     Stratum spinosum or malpighian layer or prickle cell layer มีเซลล์รูปหลายเหลี่ยมขนาด 100-300 mm เรียงเป็นชั้นๆ เรียก membrane-coating granules หรือ odland Bodies มี cytophasm เป็นรูปเส้นด้าย เรียก epithelic fibers or tinofibrils เห็นนิวเครียสชัดเจน เซลล์ชั้นใต้ๆ มีเม็ดสีผิว (melanin granules) อยู่ภายใน ซึ่งเคลื่อนย้ายมาจากเซลล์สร้างสี (melanocytes) ในชั้น stratum basale

          5.     Stratum basale ชั้นมีมีเซลล์เรียงกันแถวเดียว รูปทรงกระบอก ภายในนิวเคลียสเชื่อมต่อกันด้วย tonofibrils เซลล์ชั้นที่ 4 และ 5 นี้มีการแบ่งตัวดี อาจเรียกรวมกันว่า stratum germinatibum ในชั้นนี้มีเซลล์ที่สำคัญคือ คีราติโนไซท์ (kerationcytes) มีการแบ่งตัวและเปลียนแปลงหลายขั้นตอนปรากฎเป็นเซลล์ชั้นต่าง ๆ ถึดขึ้นมาบนผิวเรียกการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิว

          ในชั้นหนังกำพร้านี้ยังมีเซลล์ที่สำคัญอีก 3 ชนิด คือ Melanocytes ซึ่งสร้างเม็ดสีหรือ melanin ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด Langerhan's cells ทำหน้าที่คล้าย macrophage ซึ่งมีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนังและ Merkel cells ทำหน้าที่เป็นเซลล์ประสาทในหนังกำพร้า

 

หนังแท้ (dermis)

          ระหว่างหนังกำพร้าและหนังแท้ จะมีเยื่อกั้นแยกออกจากกัน หนังแท้ประกอบด้วยกลุ่มเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ซึ่งกระจายตัวเป็นร่างแห เรียก fibroblasts นอกจากนี้มี ground substances ทำให้ผิวมีความตึงยืดหยุ่นและอ่อนนุ่ม หนังแท้แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ

           1.     Papillary layer ประกอบด้วยกลุ่มหลอดเลือดฝอย ปลายประสาท และมีเซลล์ fibroblasts ดังกล่าว ซึ่งทำหน้าที่สร้าง fibrous protein ที่สำคัญ ได้แก่ collagen และ elastin แทรกอยู่ระหว่างกันทำหน้าที่เสริมความแข็งแรงทำให้ผิวหนังเกิดความตึงและยืดหยุ่นได้ เซลล์เหล่านี้เรียงตั้งฉากกับผิว

          นอกจากเส้นใย collagen และ elastin ดังกล่าว จะมี ground substances แทรกอยู่ระหว่างเส้นใยเหล่านี้ ประกอบด้วยเกลือแร่, น้ำ และ glycoaminoglycans ที่สำคัญได้แก่ hysluronic acid และ chondronintin sulfate ซึ่งทำหน้าที่ดูดและอุ้มน้ำ ทำให้ผิวนุ่มและชุ่มชื้น

          2.     Reticular layer ชั้นนี้มีหลอดโลหิต หลอดน้ำเหลือง เส้นประสาท รากผมหรือขน ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน ต่อมกลิ่น และกลุ่มเนื้อเยื่อ (fibrous bundle) มากมาย ชั้นนี้เป็นส่วนที่ยืดหยุ่นไม่ดีนัก และเป็นรอยแตกเมื่อถูกยืดมากๆ ในชั้นหนังแท้ยังมี Mast cells อยู่ใกล้กับหลอดเลือดฝอย มีบทบาทในการสร้าง heparin ช่วยป้องกันเลือดแข็งตัว สร้าง histamin และ prostaglandins ซึ่งมีผลขยายเส้นเลือดและเกี่ยวข้องกับการแพ้และการอักเสบของผิวหนัง

 

ชั้นรองรับผิวหนัง (hypodermis)

          ชั้นนี้มีเนื่อเยื่อไขมัน (adipose tissue) มาก ป้องกันอวัยวะภายในจากการถูกกระแทกอีกที และเป็นที่สะสมไขมัน (fat reservior) แก่ร่างกาย







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัทสกินไบโอเทค (ประเทศไทย) จำกัด รับผลิตเครื่องสำอาง สร้างแบรนด์เครื่องสำอาง โดยที่คุณสามารถเป็นเจ้าของแบรนด์เครื่องสำอางคุณภาพได้เพียงติดต่อเรา เราเป็นผู้ผลิตเครื่องสำอางที่พร้อมผลิตเครื่องสำอางภายใต้แบรนด์ของลูกค้า ยินดีให้คำปรึกษาด้วยทีมงานมืออาชีพ ทั้งเภสัชกรและนักวิทยาศาสตร์ค้นคว้าและวิจัยเครื่องสำอางที่มากด้วยความสามารถและประสบการณ์ที่มากกว่า 10 ปี ต้องการทราบข้อมูล สอบถาม Price List จำนวนต้นทุนขั้นต่ำในการผลิตเครื่องสำอาง เงื่อนไขการผลิตเครื่องสำอาง ราคาสินค้า ตัวอย่างทดลอง และการขอขึ้นทะเบียน อย.

Skin Biotech (Thailand) Co.,Ltd. 17 soi.krungthepkreetha 37 yak 8 krungthep kreetha road, Sapansung, Bangkok 10250 Thailand.
Tel.0-2736-2204-5 Email : skinbiotech@hotmail.com