Co-enzyme Q10 หรือ Co-Q 10
เราเริ่มรู้จักกับสารชนิดใหม่ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Co-enzyme Q10 หรือเรียกกันว่า Q10 ซึ่งถูกนำมาใช้ในเครื่องสำอางอย่างแพร่หลาย โดยเห็นได้จากสื่อต่างๆมากมาย ดังนั้นเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าสารตัวนี้คืออะไร
Q10 มีชื่อเรียกมากมายไม่ว่าจะเป็น Co-enzyme Q10 หรือ CoQ10 หรือ Ubiquinone หรือ Ubiquinole หรือ Ubidecarenone หรือ Ubiquitous หรือ Coenzyme quinine มีชื่อเรียกทางเคมีว่า "2, 3-dimethoxy-5-methyl-6-decaprenyl benzoquinone" น้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 863.36 และมีสูตรเป็น C59H90O4 มีการค้นพบ CoQ10 ครั้งแรกในปี ค.ศ.1957 โคเอนไซม์ Q10 เป็นสารที่มีคุณสมบัติคล้ายวิตามิน ละลายในไขมัน มีอยู่ตามธรรมชาติในร่างกายและร่างกายสามารถผลิตได้เอง พบในเซลล์ทุกเซลล์ที่มีชีวิตโดยจะอยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้ม (membrane) ของไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) และมีความจำเป็นต่อร่างกาย โคเอนไซม์ Q10 ที่ผลิตในร่างกายนี้สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนที่ชื่อ ไทโรซีน (Tyrosine) และฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine)ซึ่งเราจะพบวิตามิน Q มากในเซลล์กล้าม เนื้อหัวใจ เพราะหัวใจต้องใช้พลังงานมาก
Co-Q10 เป็นสารที่มีบทบาทในการเพิ่มพลังงานให้แก่เซลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานในร่างกาย เป็นสารสำคัญใน การสังเคราะห์ Adeno-sinetriphosphate (ATP) ซึ่งเปรียบได้กับขุมพลังงาน ของเซลล์ทั่วร่างกาย Co-enzyme Q10 เป็นตัวต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยปกป้องเซลล์จากการทำร้ายของอนุมูลอิสระช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้าย ซึ่งมาจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ เช่น โรคหัวใจ ข้อเสื่อม อัมพาต หรือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพวัย ตามปกติร่างกายสามารถผลิต Co-Q10 ได้โดยการสกัดและสังเคราะห์ผ่านตับ โดยดูดซึมสารอาหาร ที่ได้ในแต่ละวัน และเก็บสะสม ไว้ในเซลล์ไมโตคอนเดรีย ซึ่งเซลล์นี้มีอยู่มาก ในหัวใจ สมอง และกล้ามเนื้อ แต่เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของร่างกาย ในระบบต่างๆ ก็เสื่อมถอยลง ตับก็ไม่สามารถสังเคราะห์ Co-Q10 ได้ในปริมาณเท่าเดิม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ริ้วรอย และความเสื่อม ของระบบต่างๆ
สารานุกรมวิตามินและเกลือแร่ ได้ กล่าวถึงวิตามิน Q ไว้ว่า โคเอ็นไซม์คิว-10 (หมายถึงวิตามิน Q) เป็นส่วนหนึ่งของระบบ การทำงานเพื่อส่งผ่านอิเล็กตรอนให้ไหล ตลอดไมโตคอนเดรียในเซลล์ของขบวนการ สร้างพลํงงานของสิ่งมีชีวิตจึงเป็นสารสำคัญ ยิ่งทางชีวเคมีมีการค้นพบความสัมพันธ์ ระหว่างโคเอ็นไซม์ คิว 10 และวิตามิน อี ซึ่งตามความจริงทั้งสองทำหน้าที่แตกต่างกัน มาก อาจพบภาวะขาดโคเอ็นไซม์คิว 10 ได้ ในคนทั่วไป
ผลการวิจัยพบว่า วิตามิน Q ทำตัวเป็น สารต้านอนุมูลอิสระคล้ายวิตามินอี โดยจะ ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้โมเลกุลของไขมันถูก ทำลายเสียสภาพ จึงช่วยรักษาผนังเซลล์ให้ คงสภาพอยู่ได้
นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้แสดงให้เห็น ว่า วิตามิน Q ออกฤทธิ์ในอวัยวะของเซลล์ ส่วนที่เรียก ไมโตคอนเดรีย ซึ่งเป็นเสมือน โรงงานผลิตพลังงานที่สำคัญสำหรับเซลล์ ทำหน้าที่สันดาปโดยให้ออกซิเจนด้วยขบวน การที่เรียก ไบโออีเนลไจติคส์
โคเอนไซม์ Q10 เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการสร้างพลังงานของร่างกาย ปัจจุบัน
จึงได้มีการนำ โคเอนไซม์ Q10มาใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในทางการแพทย์เพื่อรักษาอาการของโรคต่างๆในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เพื่อลดริ้วรอยก่อนวัยและช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว
หากมนุษย์เราขาดวิตามิน Q พลังงาน ในร่างกายจะขาดหายไปถึง 80 เปอร์เซ็นต์
แหล่งวิตามิน Q
อาหารที่มีโคเอนไซม์ Q10 ได้แก่ ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า เครื่องในสัตว์ เฉพาะส่วนหัวใจและตับ ส่วนในพืชจะพบได้บ้างในถั่วลิสง และน้ำมันถั่วเหลือง
นอกจากนี้ ร่างกายยังสามารถสร้างโคเอนไซม์ Q10 ขึ้นมาได้เอง อย่างไรก็ตาม เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไปร่างกายจะผลิตโคเอนไซม์ Q10 ได้น้อยลงเรื่อยๆ เมื่อถึงวัยกลางคนจึงมักจะขาดโคเอนไซม์ Q10
การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอีและซีลีเนียม สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างโคเอนไซม์ Q10 ได้ อาหารที่มีวิตามินอี เช่น น้ำมันพืชชนิดต่างๆ อาหารที่มีซีลีเนียม ได้แก่ อาหารทะเล ข้าวกล้อง เป็นต้น
ความต้องการวิตามิน Q
วิตามินทั้งหลายที่ร่างกายต้องการนั้นมีอยู่ครบถ้วนแล้วในอาหาร แต่คนจำนวนไม่น้อยที่ขาดวิตามินด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น การเลือกรับประทานอาหาร ไม่รับประทานผักผลไม้ รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ การปรุงอาหารผิดหลักโภชนาการ การดูดซึมผิดปกติเนื่องจากเป็นโรคบางอย่าง หรือการรับประทานยาบางชนิด