ReadyPlanet.com
dot
โรงงานรับผลิตเครื่องสำอาง กับ GMP article

โรงงานรับผลิตเครื่องสำอาง กับ GMP

GMP คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร

Good Manufacturing Practice (GMP) เป็นข้อกำหนด หรือแนวทางปฎิบัติตามมาตรฐานที่มุ่งเน้นด้านการรักษาคุณภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในหลายอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสําอางอีกด้วย GMP ครอบคลุมด้านการผลิตทั้งหมดตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบและการผสมสูตรจนไปถึงการบรรจุและติดฉลากผลิตภัณฑ์ จนถึงลูกค้าได้รับสินค้า มาตรฐานเหล่านี้จะกําหนดมาตรการควบคุมคุณภาพ มาตรการสุขอนามัย และความต้องการในการรายงานที่สําคัญเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางประเภทต่างๆ มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กําหนด

ASEAN Cosmetic GMP คืออะไร?

ASEAN COSMETIC GMP คือ มาตรฐาน GMP เครื่องสำอางที่ได้รับการยอมรับในระดับ ASEAN เกิดขึ้นจากการดำเนินการภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนที่กำหนดใช้ หลักเกณฑ์วิธีการผลิตเครื่องสำอางที่ดีให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้เป็นเครื่องหมายที่เป็นที่ยอมรับในกลุ่มประเทศอาเซียน การที่โรงงานผลิตเครื่องสำอาง หรือครีมต่างๆ จะได้รับเครื่องหมาย ASEAN GMP Cosmetic นั้น จำเป็นจะต้องปฏิบัติ และปรับปรุงโรงงานของตนเองเพื่อให้ตรงตามมาตรฐานสากล ที่เป็นการยอมรับจากประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับโรงงานผลิตเครื่องสำอางที่ต้องการผลิตเครื่องสำอางเพื่อส่งออกไปยังตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียนควรจะต้องได้รับเครื่องหมาย ASEAN COSMETIC GMP จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย.  มาตรฐานเหล่านี้มุ่งเน้นการรักษาความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และความซื่อสัตย์ของผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง รวมถึงการปกป้องสุขภาพผู้บริโภคและเพิ่มความโปร่งใสในตลาด GMP ครอบคลุมด้านการจัดการผลิต การควบคุมคุณภาพ การทดสอบและการตรวจสอบสินค้า เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าที่ผลิตมีคุณภาพเหมาะสมตามที่กำหนดและปลอดภัยต่อผู้บริโภคใช้งานได้อย่างปลอดภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค เช่น การติดเชื้อ การใช้สารเคมีอันตราย สารเคมีต้องห้าม หรือสิ่งปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ โดย GMP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการผลิตและจำหน่ายสินค้า

ข้อกำหนดของ GMP Asean Cosmetic กับโรงงานรับผลิตเครื่องสำอาง

แบ่งตามหัวข้อดังต่อไปนี้

1. บุคลากร (Personnel)

ทักษะความสามารถของพนักงานผู้ปฏิบัติงานในการโรงงานการผลิตและตรวจสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในระหว่างกระบวนการผลิตโดยการจัดทำ กำหนดความรับผิดชอบ (JD) และ คุณสมบัติ (JS) ของเจ้าหน้าที่ในองค์กร ตำแหน่งที่สำคัญหนึ่งสำหรับ GMP cosmetic คือ Production และ Quality Control นอกจากมีคุณสมบัติทักษะความสามารถแล้วต้องเป็นอิสระต่อการปฏิบัติงาน   

2. สถานที่ผลิต (Premises)

ครอบคลุมทำเลตั้งแต่ที่ตั้ง ผังกระบวนการดำเนินการ และการออกแบบอาคารผลิต ต้องลดการปนเปื้อน เข้าสู่การผลิตและการบรรจุผลิตภัณฑ์ องค์กรต้องจัดทำ Layout และแผนดูแลสภาพแวดล้อม และการบำรุงรักษา สิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องออกแบบเพื่อลดการปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์ ง่ายต่อการดูแลรักษา เช่นการออกแบบแสงไฟ หลอดไฟที่เหมาะสมในพื้นที่ผลิต ระบบระบายอากาศที่เหมาะสมในสายการผลิต เพื่อลดการปนเปื้อนต่างๆ ที่อาจะเกิดขึ้นได้ในขั้นตอนกระบวนการ เป็นต้น 

3. อุปกรณ์และเครื่องมือ (Equipment) 

เพื่อให้มั่นใจในเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต และห้องปฏิบัติการทดสอบสามารถปฏิบัติงานให้ได้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยขั้นตอนปฏิบัติ จัดทำระเบียบปฏิบัติ (SOP) ครอบคลุม การจัดการเครื่องจักรและอุปกรณ์ การออกแบบและติดตั้ง การควบคุมสภาพแวดล้อม การเลือกวัสดุที่ใช้ในกระบวนการบรรจุที่ต้องสัมผัสกับผลิตภัณฑ์  การใช้วัตถุดิบ  มาตรฐานและเจ้าหน้าที่ ทักษะของผู้รับผิดชอบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เลือก ต้องไม่ Reactive – Additive – Adsorptive กับผลิตภัณฑ์ การติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักรสิ่งอำนวยความสะดวกต้องทำความสะอาดง่าย ไม่ปนเปื้อน การรั่วไหล และมีความปลอดภัย สามารถตรวจสอบและทำการสอบเทียบอุปกรณ์ได้  

4. สุขลักษณะและสุขอนามัย (Sanitation and hygiene)

การขจัด ลด และหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน การปนเปื้อนข้าม (Cross-contamination) ที่มาจากแหล่งต่างๆ จากพนักงานผู้ปฏิบัติงาน สถานที่ผลิต เครื่องจักรอุปกรณ์ วัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ที่ใช้ในระหว่างกระบวนการผลิต และสภาพแวดล้อม โดยการจัดทำ SOP เพื่อแสดงวิธีการ ขั้นตอนในการขจัดหรือลดการปนเปื้อนทุกด้าน การตรวจสอบประสิทธิภาพ และผลของการจัดการด้านสุขลักษณะและอนามัยอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในบุคลากร และเครื่องมืออุปกรณ์ ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค  ลดข้อร้องเรียน และการเรียกคืนผลิตภัณฑ์  

5. การดำเนินการผลิต (Production)

สำหรับการผลิตเครื่องสำอางแบ่งตามรูปลักษณ์และกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน ดังนั้นในแต่ละรูปแบบของเครื่องสำอาง จึงมีจุดเฝ้าระวังที่แตกต่างกันในการผลิต  คือ

1. กลุ่มเครื่องสำอางชนิดแห้ง Dry Product and Production เช่นแป้ง

2. กลุ่มเครื่องสำอาง Wet Products and Production เช่น ครีมผิวหน้า โลชั่น ครีมกันแดด

3. กลุ่มเครื่องสำอางที่บรรจุในกระป๋องสเปรย์ หรือ Aerosol Products and Production เป็นผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วย โลหะ แก๊ส  พลาสติก  ฝาวาล์ว  

เอกสารที่ต้องจัดทำคือ SOP of production และเอกสารอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการผลิตในแต่ละขั้นตอนเช่น WI จัดทำ Master Formula ของแต่ละผลิตภัณฑ์ บันทึกการผลิตที่ต้องจัดทำ Batch Manufacturing Record (BMR) และบันทึกการผลิต ตั้งแต่เริ่มกระบวนการผลิตไปจนถึงการบรรจุผลิตภัณฑ์ 

6. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)

การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมการสุ่มตรวจ (Sampling) การตรวจสอบ (Inspection) และการทดสอบ (Testing) ตั้งแต่เริ่มการรับวัตถุดิบมา ตัวอย่างเช่นการตรวจสอบคุณภาพน้ำ อย่างน้อยได้คุณภาพตามมาตรฐานน้ำดื่ม การตรวจสอบในระหว่างการผลิต และผลิตภัณฑ์สุดท้าย และยังรวมถึงการจัดการสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือ อุปกรณ์ และสภาพแวดล้อมที่ใช้ในการตรวจสอบ การจัดทำแผนและโปรแกรมดูแลรักษาสภาพแวดล้อม การตรวจสอบและการประกันคุณภาพ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ถึงต้องตามคุณสมบัติที่กำหนด (Master formula) และการเก็บรวมรวบ Batch Manufacturing Record (BMR) 

7. เอกสาร (Document)

การจัดทำระบบเอกสารที่สอดคล้องตามข้อกำหนดของมาตรฐาน GMP เพื่อให้มั่นใจได้ถึง การดำเนินการอย่างถูกต้องตามแนวทางอย่างสม่ำเสมอ ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจและสามารถดำเนินการได้ถูกต้อง การจัดการระบบเอกสารของ GMP สามารถประยุกต์ใช้เช่นเดียวกับ ระบบ ISO อื่นๆ คือ จัดทำ Quality Manual (GMP Manual), SOP, WI,  Form และ Support Document Quality Record การบันทึกคุณภาพโดยเฉพาะข้อมูลการผลิต การตรวจสอบและการปล่อยผลิตภัณฑ์สู่ตลาด บันทึกเหล่านี้บ่งชี้การปฏิบัติที่ถูกต้องสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติขององค์กร เพื่อการวิเคราะห์ผล โอกาสในการปรับปรุง และเพื่อการสอบกลับได้ทั้งจาก ทางกฎหมาย ข้อบังคับ และจากลูกค้า รูปแบบเอกสาร ขึ้นอยู่กับแนวนโยบายขององค์กร และความสะดวกและสอดคล้องกับมาตรฐาน 

8. การตรวจติดตามภายใน (Internal audit)

การตรวจติดตามภายใน โดยทีม GMP ภายในเอง โดยจัดทำ SOP และกำหนดแผนการตรวจติดตามภายในอย่างสม่ำเสมอ การตรวจต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด GMP และกิจกรรมขององค์กร ทั้งนี้สามารถประยุกต์ใช้ตามแนวทางของISO 19011 Guideline for auditing Management System  

9. การเก็บ (Storage)

การจัดเก็บครอบคลุม สถานที่เก็บวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และสถานที่เก็บกักเครื่องสำอางรอผลการตรวจสอบ โดยจัดทำ SOP ระบุวิธีการ สถานที่จัดเก็บ มีเนื้อที่เพียงพอ การจัดทำป้ายบ่งชี้ การเบิกจ่ายที่ การประยุกต์ใช้ FIFO และ FEFO การควบคุมสภาพแวดล้อมในพื้นที่การจัดเก็บ ความปลอดภัย จากการปลอมปนหรือการนำไปใช้อย่างไม่ตั้งใจ 

10. เรื่องร้องเรียน (Complaints)

ข้อร้องเรียนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนด หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ในเงื่อนไขการใช้ปรกติ เช่นการแพ้ ระคายเคือง หรืออาจเกิดจากสาเหตุใด เช่น การเสื่อมสภาพผลิตภัณฑ์ และก่อให้เกิดอันตราย ความไม่พึงประสงค์ ต่อผู้ใช้ได้ ครอบคลุมการร้องเรียนที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านคุณภาพ ความปลอดภัยและรวมถึงประสิทธิภาพของเครื่องสำอาง ทั้งผู้ผลิตและผู้กระจายสินค้า ต้องจัดการกับข้อร้องเรียนและติดตามหลังวางตลาดอย่างเป็นระบบ ตามข้อกำหนดกฎหมายที่ผู้ผลิตเกี่ยวข้อง  (Post Market Surveillance Guideline)

11. การเรียกคืนสินค้า (Product Recalls)

การเรียกคืนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เมื่อพบข้อบกพร่อง หรือ ไม่สอดคล้องตามข้อกำหนด สเปคผลิตภัณฑ์ จึงจำเป็นต้องเรียกคืนจากตลาดเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค ซึ่งผู้ผลิตต้องจัดทำ SOP กำหนดผู้รับผิดชอบ อำนาจหน้าที่ ในองค์กร  กำหนดแนวทางโดยสอดคล้องตามข้อกำหนด กฎหมายข้อบังคับของแต่ละประเทศ องค์กรต้องกำหนดแนวทางระยะเวลา ทบทวน SOP และทดสอบการเรียกคืน เพื่อให้มั่นใจได้ถึง เมื่อถ้าเกิดมีเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องเรียนคืนสินค้าจริง เมื่อทดลองหรือเรียกคืนตามเหตุการณ์ณ์จริง องค์กรต้องสืบสวนหาสาเหตุและวางแนวทางป้องกัน

ASEAN Cosmetic GMP เป็นข้อกำหนดการผลิตที่ดีสำหรับเครื่องสำอางที่เป็นมาตรฐานในอาเซียน ซึ่งอาจมีข้อกำหนดเฉพาะที่ต่างจาก GMP ทั่วไปของประเทศอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน เพื่อให้การผลิตสินค้าเครื่องสำอาง เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีการจัดการด้านการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เช่น กระบวนการผลิตที่มีความสะอาดและปลอดภัย ไม่มีการสะสมสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค การบันทึกข้อมูลการผลิตและตรวจสอบการผลิต การควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบและส่วนผสมในการผลิต การตรวจสอบสถานะของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น

การปฏิบัติตาม ASEAN Cosmetic GMP จึงช่วยให้ผู้ผลิตเครื่องสำอางมั่นใจว่าสินค้าที่ผลิตมีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภคและได้รับการยอมรับ และการแข่งขัน ในตลาดเอเชียได้อย่างเหมาะสม

 

 

 

 

 

 

 

 

สนใจสอบถามข้อมูลการผลิตเครื่องสำอางเพิ่มเติม ทักไลน์ได้เลย☎️📳

เพิ่มเพื่อน

 

 

 

 

 

 

 

โรงงานผลิตเครื่องสำอาง,รับผลิตเครื่องสำอาง,รับผลิตเวชสำอาง,รับผลิตครีม,รับสร้างแบรนด์เครื่องสำอาง,รับผลิตสบู่,จดแจ้งอย.เครื่องสำอาง,ผลิตเครื่องสำอางคุณภาพ,รับผลิตสร้างแบรนด์




บทความเกี่ยวกับเครื่องสำอาง

ประโยชน์ และข้อดี ของการใช้ครีมกันแดด article
การผลัดเซลล์ผิว คืออะไร? article
ผิวหน้าแพ้เครื่องสำอาง แก้ไขอย่างไร? article
เนื้อเซรั่ม และ เนื้อครีม แตกต่างกันอย่างไร? article
Vitamin B3 ในเครื่องสำอาง มีความสำคัญอย่างไร? article
แนะนำ Defensil สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
สารกันเสียในเครื่องสำอาง article
Tranexamic acid ในเครื่องสำอางคืออะไร? article
ความต่างของ Alpha-Arbutin และ Beta-Arbutin article
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง article
แนะนำ Beetox H สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
เครื่องสำอาง Organic คืออะไร? article
AHA กับ BHA ต่างกันอย่างไร? article
ส่วนผสมในเครื่องสำอาง ที่ไม่ควรใช้ร่วมกัน article
Retinol กับ Bakuchiol ในการผลิตเครื่องสำอาง
Vitamin C กับการ ผลิตเครื่องสำอาง article
6 ปัจจัย ที่ก่อให้เกิดปัญหาผิว article
เครื่องสำอาง กับ ความชุ่มชื้นบนผิว article
ฝ้า และ กระ ต่างกันอย่างไร ควรใช้เครื่องสำอางแบบใด? article
ประเภทของผิวเรา เป็นแบบไหนกันนะ? article
7 วิธี ให้หน้าใส "ไร้สิว" article
แนะนำ U-Active P&C สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
หลักเกณฑ์การตั้งชื่อ "ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง" article
OEM กับ ODM ต่างกันอย่างไร? article
อายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง article
สิวกับเครื่องสำอาง article
การควบคุมขั้นตอนการผลิตเครื่องสำอาง article
แนะนำ Aquashuttle HD0001 สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
แนะนำ Palmitoyl Hexapeptide-19 สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
แนะนำ SYN-AKE สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
การเลือกซื้อเครื่องสำอางอย่างปลอดภัย article
ปัญหาผิวแพ้ง่าย กับการผลิตเครื่องสำอาง article
ดูแลผิวช่วงหน้าฝนยังไง ให้ผิวสุขภาพดี article
แนะนำ PEARL EXTEACT สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
ปัญหาผิวแพ้ง่ายกับเครื่องสำอาง article
แนะนำ Hymagic-4D สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
อันตรายจากการใช้เครื่องสำอางปลอม article
แนะนำ SNAIL EXTRACT สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
อันตรายของสารปรอทในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง article
แนะนำ ชะเอมเทศ สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิต หรือนําเข้าเครื่องสําอาง article
แนะนำ Dragon's Blood สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด แตกต่างกันอย่างไร? article
แนะนำ AREAUMAT PERPETUA PWS สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
แนะนำเซรั่มสูตรหน้าใส article
สัญลักษณ์บนเครื่องสำอางที่ควรรู้ในการผลิตเครื่องสำอาง article
แนะนำ Royalbiocyte สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
สารที่ "ห้าม" ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง article
สารอนุมูลอิสระกับการผลิตเครื่องสำอาง article
สาเหตุของการเกิดรอยเหี่ยวย่น article
แนะนำ Kakaduplum สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
แนะนำ GOAT MILK EXTRACT สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
ข้อมูลฉลากบนเครื่องสำอางที่ควรรู้ในการผลิตเครื่องสำอาง article
แนะนำ สาหร่ายทะเล สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
แนะนำ SEA WATER สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
เหตุผลที่ต้องผลิตเครื่องสำอางกับเรา article
ประกาศใช้ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๕๘ article
เลือกครีมบำรุงผิวช่วงหน้าร้อนอย่างไรให้เหมาะกับผิว ??
แนะนำ Azeloglicina Complex สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
เลือกครีมหน้าขาวอย่างไรให้ถูกวิธี
8 เคล็ดลับการบำรุงผิวในแต่ละวัน
แนะนำ Witch Hazel Distillate สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
การเลือกซื้อเครื่องสำอางอย่างชาญฉลาด
แนวโน้มการตลาดเครื่องสำอางธรรมชาติ
ลำดับการใช้เครื่องสำอาง
แนะนำ Bakuchiol สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
แนะนำ แพลงก์ตอนทะเล สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
ครบเครื่องเรื่อง ครีมกันแดด
ทำไมต้องโทนเนอร์
แนะนำ Honey Extract สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
การเลือกผลิตภัณฑ์ล้างหน้า
การเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
แนะนำ Ascorbyl Glucoside สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
การเลือกใช้ครีมกันแดด
วิตามิน ในเครื่องสำอาง
แนะนำ สารสกัดหัวหอมแดง สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
การแพ้เครื่องสำอาง
แนะนำ MANGOSTEEN EXTRACT สารสกัดในการผลิตเครื่องสำอาง article
เวชสำอาง คืออะไร
ทำไมต้องใช้เครื่องสำอาง ??



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัทสกินไบโอเทค (ประเทศไทย) จำกัด รับผลิตเครื่องสำอาง สร้างแบรนด์เครื่องสำอาง โดยที่คุณสามารถเป็นเจ้าของแบรนด์เครื่องสำอางคุณภาพได้เพียงติดต่อเรา เราเป็นผู้ผลิตเครื่องสำอางที่พร้อมผลิตเครื่องสำอางภายใต้แบรนด์ของลูกค้า ยินดีให้คำปรึกษาด้วยทีมงานมืออาชีพ ทั้งเภสัชกรและนักวิทยาศาสตร์ค้นคว้าและวิจัยเครื่องสำอางที่มากด้วยความสามารถและประสบการณ์ที่มากกว่า 10 ปี ต้องการทราบข้อมูล สอบถาม Price List จำนวนต้นทุนขั้นต่ำในการผลิตเครื่องสำอาง เงื่อนไขการผลิตเครื่องสำอาง ราคาสินค้า ตัวอย่างทดลอง และการขอขึ้นทะเบียน อย.

Skin Biotech (Thailand) Co.,Ltd. 17 soi.krungthepkreetha 37 yak 8 krungthep kreetha road, Sapansung, Bangkok 10250 Thailand.
Tel.0-2736-2204-5 Email : skinbiotech@hotmail.com