ReadyPlanet.com
dot
แนวทางการรักษาสิว

แนวทางการดูแลรักษาโรค Acne

 

 

Clinical Practice Guideline Acne

รองศาสตราจารย์นายแพทย์นภดล นพคุณ

ศาสตราจารย์แพทย์หญิงเพ็ญวดี ทิมพัฒนพงศ์

รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงวัณณศรี สินธุภัค

รองศาสตราจารย์แพทย์เพ็ญพรรณ วัฒนไกร

แพทย์หญิงรัศนี อัครพันธ์

แพทย์หญิงนลินี สุทธิไพศาล

ร้อยโทหญิงแพทย์หญิงรัชยาณี คเนจร ณ อยุธยา

รองศาสตราจารย์นายแพทย์นิยม ตันติคุณ

นายแพทย์รัฐภรณ์ อึ๊งภากรณ์

นายแพทย์วิบูลย์ โรจนวานิช

แพทย์หญิงภาวิณี ฤกษ์นิมิตร

นายแพทย์เจตน์ วิทิตสุวรรณกุล

 

 

 

ความนำ

แนวทางการดูแลรักษาสิวเป็นความเห็นร่วมกันของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยสิวเพื่อใช้เป็นแนวทางในการรักษาผู้ป่วย มิใช่กฎตายตัวที่ต้องปฏิบัติการรักษาตามที่เขียนไว้ทุกประการ ทั้งนี้เพราะผู้ป่วยแต่ละรายมีปัญหาที่แตกต่างกัน การวางแนวทางการรักษาเป็นการสร้างมาตรฐานและพัฒนาการดูแลรักษาสิวให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของทั้งแพทย์และผู้ป่วย เพื่อให้ประชาชนที่มาพบแพทย์ได้รับความมั่นใจว่าจะได้รับการดูแลรักษาที่ดี

สิวเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ผิวหนัง สิวจะปรากฏอาการในผู้หญิงช่วงอายุ 14-17 ปี และในผู้ชายช่วงอายุ 16-19 ปี ความรุนแรงของสิวจะมากขึ้น 3-5 ปี หลังจากเริ่มเป็นสิว และมักหายไปในช่วงอายุ 20-25 ปี ร้อยละ 85 ของผู้เป็นสิวจะเป็นชนิดไม่รุนแรง มีเพียงร้อยละ15 ที่เป็นสิวอักเสบรุนแรง

นิยาม

สิว คือ การอักเสบของหน่วยรูขนและต่อมไขมัน( pilosebaceous unit) โดยมากมักเป็นบริเวณหน้า คอ และลำตัวส่วนบน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีต่อมไขมันขนาดใหญ่อยู่หนาแน่น มักพบในวัยรุ่น แต่บางคนอาจเป็นๆหายๆจนอายุเลย 40 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดสิว

 

การวินิจฉัย

อาการและอาการแสดง

1.ลักษณะทางคลินิก

ลักษณะทางคลินิกของสิว บริเวณที่เป็นสิวบ่อย คือ หน้า รองลงมา คือ คอ หลัง และอก

ส่วนบน แบ่งสิวได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

ก. ชนิดไม่อักเสบ คือ สิวที่เกิดจากการอุดตันของรูขน เรียกว่า comedone (ductal

hypercornification) มี 2 ชนิด

- closed comedone เป็นตุ่มกลมเล็กแข็งสีขาวจะเห็นชัดขึ้นเมื่อดึงผิวหนังให้ตึงหรือโดยการ

คลำ

- open comedone เป็นตุ่มกลมเล็กแข็งคล้าย closed comedone แต่ตรงยอดมีรูเปิดและมี

ก้อนสีดำอุดอยู่

ข. ชนิดอักเสบ ได้แก่

- papule ตุ่มสีแดงขนาดเล็ก

- pustuleได้แก่ superficial และ deep pustule

- nodule ก้อนสีแดงภายในมีหนองปนเลือด บางครั้งอาจเป็นหลายหัวติดกัน

- cyst ก้อนนูนแดง นิ่ม ภายในมีหนองปนเลือด

เมื่อสิวหายอาจจะเหลือร่องรอยได้หลายแบบ ได้แก่ รอยแดง, รอยดำ, หลุมแผลเป็น,

แผลเป็นนูน

 

 

 

 

การจัดระดับความรุนแรงของสิว

- สิวเล็กน้อย (mild acne) มีหัวสิวไม่อักเสบ( comedone )เป็นส่วนใหญ่ หรือมีสิวอักเสบ(papule และ pustule)ไม่เกิน 10 จุด

- สิวปานกลาง (moderate acne) มี papule และ pustule ขนาดเล็กจำนวนมากกว่า 10 จุดและ/หรือ มี nodule น้อยกว่า 5 จุด

- สิวรุนแรง (severe) มี papule และ pustule มากมาย มี nodule หรือ cyst เป็นจำนวนมากหรือมีnodule อักเสบอยู่นานและกลับเป็นซ้ำหรือมีหนองไหล มี sinus tract

 

 

2. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องทำการตรวจยกเว้นในกรณีต่อไปนี้

1. สิวในผู้ที่มีอาการแสดงของ Hyperandrogenism เช่น ผู้หญิงอ้วนที่มีขนดก ประจำเดือนผิดปกติเป็นประจำ เสียงห้าว ศีรษะล้านแบบผู้ชาย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางนรีเวชและต่อมไร้ท่อด้วย

2. folliculitis จากสาเหตุอื่น ได้แก่ gram-negative folliculitis , pityrosporum folliculitisโดยทำ pus smear และย้อมพิเศษ

3. การวินิจฉัยแยกโรค

โรคผิวหนังคล้ายสิวที่พบบ่อย (acne-like conditions) ได้แก่

- Folliculitis เช่น pityrosporum folliculitis, gram negative folliculitis, eosinophilic pustular folliculitis(Ofuji’s disease).

- Acne rosacea

- Acneiform drug eruption

 

 

การรักษา

การวางแผนการรักษา / แนวทางการรักษา

หลักในการรักษาสิว

1. ให้ความรู้แก่ผู้ป่วย

1.1 อธิบายถึงสาเหตุและปัจจัยกระตุ้น

1.2 การดำเนินโรคของสิว สิวจะเริ่มดีขึ้นในเวลาประมาณ 2-3 เดือนและจะดีขึ้นมากในเวลา 4-8 เดือน

1.3 วิธีปฏิบัติตัวระหว่างการรักษา เช่น การทำความสะอาดใบหน้า การหลีกเลี่ยงเครื่องสำอาง

2. การรักษามาตรฐาน ( First line treatment ) แบ่งตามความรุนแรงของสิว

2.1 สิวเล็กน้อย (mild acne)

ใช้เฉพาะยาทา2 ได้แก่

- Benzoyl peroxide 2.5%-5% 2-5 ( หลักฐานระดับ 1, คำแนะนำระดับ A )

- Topical retinoids 0.01%-0.1% 2, 6-8( หลักฐานระดับ 1, คำแนะนำระดับ A )

- Clindamycin 1% solution 2, 9-10( หลักฐานระดับ 1, คำแนะนำระดับ A )

- Erythromycin 2%-4% solution หรือ gel 2, 11-12( หลักฐานระดับ 1, คำแนะนำระดับ A )

- Salicylic acid 2, 13-15( หลักฐานระดับ 1, คำแนะนำระดับ A )

 

- Azelaic acid 2, 16-17( หลักฐานระดับ 1, คำแนะนำระดับ C )

- Sulfur, resorcinol18 ( หลักฐานระดับ 2, คำแนะนำระดับ C )

หมายเหตุ ไม่ควรใช้ Clindamycin หรือ Erythromycin ทาอย่างเดียว เพราะมีความเสี่ยงต่อ

การเกิดเชื้อดื้อยา ควรใช้ร่วมกับ Benzoyl peroxide

2.2 สิวปานกลาง(moderate acne)

ใช้ยาทา (ดังกล่าวแล้วใน mild acne) ร่วมกับยารับประทานคือ ยาในกลุ่ม Tetracycline 

ในกรณีที่แพ้ยาในกลุ่มTetracycline ให้ใช้ Erythromycin (ขนาดและระยะเวลาของการใช้ยาดูใน

ภาคผนวก)

2.3 สิวรุนแรง(severe acne)

ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง ในกรณีการรักษาที่ไม่ตอบสนองด้วยวิธีมาตรฐานใน 2-3 เดือน หรือเป็นสิวรุนแรง (severe

acne ) ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง

 

 




การรักษาสิว

ตำแหน่งสิวบนใบหน้า บ่งบอกถึงอะไร
การรักษาสิวเสี้ยน
อาหาร ป้องกันสิว
อาหาร กะรตุ้นสิว



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัทสกินไบโอเทค (ประเทศไทย) จำกัด รับผลิตเครื่องสำอาง สร้างแบรนด์เครื่องสำอาง โดยที่คุณสามารถเป็นเจ้าของแบรนด์เครื่องสำอางคุณภาพได้เพียงติดต่อเรา เราเป็นผู้ผลิตเครื่องสำอางที่พร้อมผลิตเครื่องสำอางภายใต้แบรนด์ของลูกค้า ยินดีให้คำปรึกษาด้วยทีมงานมืออาชีพ ทั้งเภสัชกรและนักวิทยาศาสตร์ค้นคว้าและวิจัยเครื่องสำอางที่มากด้วยความสามารถและประสบการณ์ที่มากกว่า 10 ปี ต้องการทราบข้อมูล สอบถาม Price List จำนวนต้นทุนขั้นต่ำในการผลิตเครื่องสำอาง เงื่อนไขการผลิตเครื่องสำอาง ราคาสินค้า ตัวอย่างทดลอง และการขอขึ้นทะเบียน อย.

Skin Biotech (Thailand) Co.,Ltd. 17 soi.krungthepkreetha 37 yak 8 krungthep kreetha road, Sapansung, Bangkok 10250 Thailand.
Tel.0-2736-2204-5 Email : skinbiotech@hotmail.com